วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

หน้าเเรก






ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคมะเร็งใหญ่ (Colorectal cancer)


มะเร็งคืออะไร?

 IMAGE SOURCE : https://amprohealth.com/cancer/meaning

          โรคมะเร็ง คือ โรคซึ่งเกิดมีเซลล์ผิดปกติขึ้นในร่างกาย และเซลล์เหล่านี้มีการเจริญเติบ โตรวดเร็วเกินปกติ ร่างกายควบคุมไม่ได้ ดังนั้นเซลล์เหล่านี้ จึงเจริญลุกลามและแพร่กระจายได้ทั่วร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆทำงานไม่ได้ จึงเกิดเป็นโรค และมีอาการต่างๆขึ้น และเมื่อเป็นมะเร็งของอวัยวะสำคัญ หรือ มะเร็งแพร่กระจายเข้าอวัยวะสำคัญ อวัยวะเหล่านั้นจึงล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตในที่สุด ได้แก่ ปอด ตับ สมอง ไต กระดูก และไขกระดูก

โรคมะเร็งต่างจากเนื้องอกอย่างไร ?

          โรคมะเร็งต่างจากเนื้องอกที่ ก้อนเนื้อ หรือ แผลมะเร็ง โตเร็ว ลุกลามเข้าอวัยวะข้างเคียง เข้าต่อมน้ำเหลือง และแพร่กระจายเข้าหลอดเลือด/กระแสโลหิต/กระแสเลือด และหลอดน้ำ เหลือง/กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆได้ทั่วร่างกาย โดยมักแพร่สู่ ปอด ตับ สมอง กระดูก และไขกระดูก ดังนั้นโรคมะเร็งจึงเป็นโรคเรื้อรัง รุนแรง มีการรักษาที่ซับซ้อนและต่อเนื่อง
          โรคเนื้องอก ได้แก่ มีก้อนเนื้อผิดปกติ แต่โตช้า ไม่ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง เพียงกด หรือ เบียดเมื่อก้อนโตขึ้น ไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ไม่แพร่กระจายทางกระแสโล หิต และทางกระแสน้ำเหลือง จึงเป็นโรคมักรักษาได้หายโดยเพียงการผ่าตัด

โรคมะเร็งเกิดได้อย่างไร ?

        สาเหตุของโรคมะเร็งยังไม่ชัดเจนแต่แพทย์พบปัจจัยเสี่ยงได้หลายปัจจัยเสี่ยงและเชื่อว่าสาเหตุน่ามาจากหลายๆปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน โอกาสเกิดจากปัจจัยเดียวพบได้น้อยมาก โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคมะเร็ง ได้แก่
1. มีพันธุกรรมผิดปกติ เป็นได้ทั้งพันธุกรรมที่ถ่ายทอดได้ หรือ พันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด
2. สูบบุหรี่
3. ดื่มสุรา
4. ขาดสารอาหาร
5. ขาดการกินผัก และผลไม้
6. กินอาหารไขมัน และ/หรือ เนื้อแดงสูงต่อเนื่อง เป็นประจำ
7. การสูดดมสารพิษบางชนิดเรื้อรัง เช่น สารพิษในควันบุหรี่ อย่างต่อเนื่องโดย เฉพาะในปริมาณสูง
8. ร่างกายได้รับโลหะหนักเรื้อรังจาก การหายใจ อาหาร และ/หรือ น้ำดื่ม เช่น สารปรอท
9. ติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัส เอชไอวี (HIV) ไวรัส เอชพีวี (HPV)
10. ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อเอชไพโลริในกระเพาะอาหาร (โรคติดเชื้อเอชไพโลไร)
11. ติดเชื้อพยาธิบางชนิด เช่น พยาธิใบไม้ตับ
12. การใช้ยาฮอร์โมนเพศต่อเนื่อง
13. สูงอายุ เพราะเซลล์ผู้สูงอายุมีการเสื่อม และการซ่อมแซมต่อเนื่อง จึงเป็นสาเหตุให้เซลล์กลายพันธุ์ไปเป็นเซลล์มะเร็ง
ได้
                                                                IMAGE SOURCE : https://health.mthai.com


อาการของโรคมะเร็งเป็นอย่างไร ? 
                   
               โรคมะเร็งไม่มีอาการที่ชัดเจนแต่เป็นอาการเช่นเดียวกับการอักเสบของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง โดยที่แตกต่างคือ มักเป็นอาการที่เลวลงเรื่อยๆและเรื้อรัง ดังนั้นเมื่อมีอาการต่างๆนานเกิน 1-2 สัปดาห์ จึงควรรีบพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม อาการที่น่าสงสัยว่าเป็นมะเร็ง ได้แก่
1. มีก้อนเนื้อโตเร็ว หรือ มีแผลเรื้อรัง ไม่หายภายใน 1-2 สัปดาห์หลังการดูแลตนเองในเบื้องต้น
2. มีต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้ มักแข็ง ไม่เจ็บ และโตขึ้นเรื่อยๆ
3. ไฝ ปาน หูด ที่โตเร็วผิดปกติ หรือ เป็นแผลแตก
4. หายใจ หรือ มีกลิ่นปากรุนแรงจากที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
5. เลือดกำเดาออกเรื้อรัง มักออกเพียงข้างเดียว (อาจออกทั้งสองข้างได้)
6. ไอเรื้อรัง หรือ ไอเป็นเลือด
7. มีเสมหะ น้ำลาย หรือ เสลดปนเลือดบ่อย
8. อาเจียนเป็นเลือด
9. ปัสสาวะเป็นเลือด
10. ปัสสาวะบ่อย ขัดลำ ปัสสาวะเล็ด โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
11. อุจจาระเป็นเลือด มูก หรือ เป็นมูกเลือด
12. ท้องผูก สลับท้องเสีย โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
13. มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ หรือ มีประจำเดือนผิดปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดในวัยหมดประจำเดือน หรือ หลังมีเพศสัมพันธ์ทั้งที่ไม่เคยมีมาก่อน
ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นอึดอัดท้อง โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
14. มีไข้ต่ำๆหาสาเหตุไม่ได้
15. มีไข้สูงบ่อย หาสาเหตุไม่ได้
16. ผอมลงมากใน 6 เดือน มักตั้งแต่ 10%ขึ้นไปของน้ำหนักตัวเดิม
17. มีจ้ำห้อเลือดง่าย หรือ มีจุดแดงคล้ายไข้เลือดออกตามผิวหนังบ่อย
18. ปวดศีรษะรุนแรงเรื้อรัง หรือ แขน/ขาอ่อนแรง หรือ ชักโดยไม่เคยชักมาก่อน
19. ปวดหลังเรื้อรัง และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ อาจร่วมกับ แขน/ขาอ่อนแรง

แพทย์รู้ได้อย่างไรว่าผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง?

          แพทย์วินิจฉัยโรคมะเร็งได้จาก ประวัติอาการต่างๆของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย การตรวจภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีอาการด้วยเอกซเรย์ หรือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ เอ็มอาร์ไอ แต่ที่ให้ผลแน่นอน คือ เจาะ/ดูดเซลล์จากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ ตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา (ตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางพยาธิวิทยา)

ระยะของโรคมะเร็ง ?


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระยะมะเร็ง
                                                             IMAGE SOURCE : https://amprohealth.com

          ระยะโรคมะเร็ง คือ ตัวบอกความรุนแรงของโรค (การลุกลามและแพร่กระจาย) บอกแนว ทางการรักษา และแพทย์ใช้ในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งโดยทั่วไปโรคมะเร็งมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1-4 ซึ่งทั้ง 4 ระยะ อาจแบ่งย่อยได้อีกเป็น เอ (A) บี (B) หรือ ซี (C) หรือ เป็น หนึ่ง หรือ สอง เพื่อแพทย์โรคมะเร็งใช้ช่วยประเมินการรักษา ส่วนโรคมะเร็งระยะศูนย์ (0) ยังไม่จัดเป็นโรคมะเร็งอย่างแท้จริง เพราะเซลล์เพียงมีลักษณะเป็นมะเร็ง แต่ยังไม่มีการรุกราน (Invasive) เข้าเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งเป็นระยะและลักษณะอาการ ดังนี้
          1. ระยะที่ 1: ก้อนเนื้อ/แผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม
          2. ระยะที่ 2: ก้อน/แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อ/อวัยวะ
3. ระยะที่ 3: ก้อน/แผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เป็นมะเร็ง
4. ระยะที่ 4: ก้อน/แผลมะเร็งขนาดโตมาก และ/หรือ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง จนทะ ลุ และ/หรือ เข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง โดยพบต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้ และ/หรือ มีหลากหลายต่อม และ/หรือ แพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และ/หรือ หลอดน้ำเหลือง/กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก ไขกระดูก ต่อมหมวกไต ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ในช่องอก และ/หรือ ต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า

รักษาโรคมะเร็งได้อย่างไร ?

          วิธีรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน ได้แก่ ผ่าตัด รังสีรักษา ยาเคมีบำบัด ยาฮอร์โมน ยารักษาตรงเป้า รังสีร่วมรักษา และการรักษาประคับประคองตามอาการด้วยอายุรกรรมทั่วไป
การรักษาโรคมะเร็งอาจเป็นวิธีใดวิธีเดียว หรือ หลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นกับ
1. ระยะโรค
2. ชนิดของเซลล์มะเร็ง
3. เป็นมะเร็งของเนื้อเยื่อ/อวัยวะใด
4. ผ่าตัดได้หรือไม่ หลังผ่าตัด ยังคงหลงเหลือก้อนมะเร็งหรือไม่
5. ผลพยาธิวิทยาชิ้นเนื้อหลังผ่าตัดเป็นอย่างไร
6. อายุ และสุขภาพผู้ป่วย

โรคมะเร็งรักษาหายไหม ?
          โรคมะเร็งเป็นโรครักษาได้หาย แต่ทั้งนี้ โอกาสรักษาหายขึ้นกับ ระยะโรค , ชนิดเซลล์มะเร็ง , ผ่าตัดได้หรือไม่ , มะเร็งเป็นชนิดดื้อต่อ รังสีรักษา และ/หรือ ยาเคมีบำบัด และ/หรือยารักษาตรงเป้า หรือไม่ , อายุและสุขภาพผู้ป่วย
          อนึ่ง ในภาพรวมโดยประมาณ อัตราอยู่รอดที่ 5 ปี (โอกาสรักษามะเร็งได้หาย) ภายหลังการรักษาโรคมะเร็ง คือ
โรคระยะ 0 90-95%
โรคระยะที่1 70-90%
โรคระยะที่2 70-80%
โรคระยะที่3 20-60%
โรคระยะที่4 0-15%

วิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ?
          การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง คือ การตรวจให้พบโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะยังไม่มีอาการ (มักเป็นมะเร็งในระยะ 0 หรือระยะ 1) ทั้งนี้เพราะโรคมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสรักษาได้หายสูงกว่าโรคมะเร็งในระยะอื่นๆ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ การตรวจที่เมื่อพบโรคแล้ว ภายหลังการรักษา ผู้ป่วยจะมีอัตรารอดจากโรคมะเร็งสูงขึ้น หรือมีอัตราเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลดลงนั่นเอง
          ปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ คือ ตรวจคัดกรองโรค มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ตับ ปอด ต่อมลูก หมาก และรังไข่ ยังมีการถกเถียงกันอยู่ในหมู่แพทย์ ถึง ข้อดี ข้อเสีย และผลข้างเคียงจากการตรวจ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการตรวจว่า เหมาะสมหรือไม่ อย่างไร และควรให้การตรวจเฉพาะกับบุคคลกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเหล่านี้ หรือให้การตรวจได้กับคนทั่วไป

วิธีป้องกันโรคมะเร็ง ?
          ปัจจุบัน วิธีป้องกันโรคมะเร็งที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ที่หลีกเลี่ยงได้ ดังกล่าวแล้ว ซึ่งที่สำคัญ คือ กินอาหารมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวัน ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่ให้อ้วนหรือ ผอม เกินไป โดยจำกัดเนื้อแดง แป้ง น้ำตาล ไขมัน เกลือ แต่เพิ่มผัก ผลไม้ให้มากๆ ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพ สม่ำเสมอ รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งชนิดมีประสิทธิภาพดังได้กล่าวแล้วหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง
ที่มา: ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
9 อาหารต้านมะเร็ง
     โรคมะเร็งอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด สิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงติอการเป็นมะเร็งหนึ่งในนั้นคือ อาหารที่เรากินกันทุกวันนั่นเอง ลองมาดูว่าถ้าไม่อยากเพิ่มความเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งต้องทานอาหารประเภทไหน เลี่ยงอาหารแบบไหนบ้าง


                                                             IMAGE SOURCE : http://www.shopsabuyjung.com

1. กินผักหลากสีทุกวัน
สีสันของผักนอกจากจะดูสวยงามแล้ว ผักแต่ละสี แต่ละชนิดยังมีประโยชน์ต่อร่างกายและให้คุณค่าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการรับประทานผักให้หลากหลายหรือรับประทานให้ครบทั้ง 5 สี จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อสุขภาพ ตัวอย่างของผักและสารสีต่างๆ ได้แก่
สารสีแดง ได้แก่ มะเขือเทศ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ไลโคปีน [Lycopene] ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด
สารสีเหลือง/ส้ม ได้แก่ ฟักทอง แครอท มีสารต้านอนุมูลอิสระแคโรทีนอยด์ [ Beta –Carotene] และอุดมไปด้วยวิตามินที่สามารถต้านการเกิดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย
สารสีเขียว ได้แก่ คะน้า บล็อคโคลี่ อุดมไปด้วยวิตามินซี รวมถึงผักบุ้ง กวางตุ้ง ตำลึง ที่มีวิตามินเอและพิกเมนต์ คลอโรฟิลล์
สารสีม่วง ได้แก่ กะหล่ำสีม่วง ชมพู่มะเหมี่ยว สีม่วงในดอกอัญชัน พืชผักสีม่วงเหล่านี้มีสารแอนโทไซยานิน [Anthocyanin] ซึ่งจะช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง
สารสีขาว ได้แก่ มะเขือเปราะ ผักกาดขาว ดอกแค โดยเฉพาะยอดแค มีสารเบตาแคโรทีนสูง ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดสารอนุมูลอิสระ
2. ขยันหาผลไม้เป็นประจำ
เป็นที่ทราบกันดีว่าผลไม้ประกอบไปด้วย วิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งยังมีเส้นใยอาหารที่ชาวยให้ระบบย่อยอาหารและระบบการขับถ่ายทำงานได้อย่างปกติ
คุณประโยชน์ของผลไม้
ส้ม: มีวิตามินเอและซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
สับประรด : มีวิตามินซี เบตาแคโรทีน และแมงกานีส ที่ช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระและยังมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
มะละกอ: มีวิตามินเอ บี และซี ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ
มะม่วง: มีวิตามินอและซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยในการป้องกันมะเร็งอีกทั้งยังแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนได้อีกด้วย
3. ทำอาหารธัญพืชและเส้นใย
ธัญพืชเต็มเมล็ดคือธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุดทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น วิตามิน แร่ธาตุ ไฟโตนิวเตรียนท์ เส้นใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ตัวอย่างของธัญพืชเต็มเมล็ด ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ลูกเดือย เป็นต้น นอกจากนี้ใยอาหารในธัญพืชยังทำหน้าที่สำคัญในการพาสารต่างๆที่เป็นโทษต่อร่างกายซึ่งเกาะติดบริเวณลำไส้ให้ขับถ่ายออกไป จึงมีส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งในทางเดินอาหาร และมะเร็งในลำไส้ใหญ่ โดยคุณค่าทางอาหารของธัญพืชแต่ละชนิด มีดังนี้
ข้าวกล้อง  ให้พลังงานแก่ร่างกาย มีเส้นใยอาหาร ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ปากนกกระจอก ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
ลูกเดือย  มีวิตามินบี 1 วิตามินเอ โพแทสเซียม และใยอาหาร ช่วยแก้เหน็บชา แก้ร้อนใน บำรุงไต ปอด กระเพาะอาหาร
ถั่ว ถั่วชนิดต่างๆเช่นถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง มรสารอาหารโปรตีนและเส้นใยอาหารช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้
      IMAGE SOURCE : http://www.momtanaddak.com
4. ใส่เครื่องเทศเสริมรสชาติอาหาร
เครื่องเทศ หมายถึง ส่วนต่างๆของพืชที่นำมาเป็นเครื่องปรุงรสอาหารหรือเพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอม สารประกอบอินทรีย์ที่เป็นกลิ่นหอมของเครื่องเทศนั้นมาจากส่วนที่เป็นน้ำมันและน้ำมันหอมระเหย ส่วนรสชาติที่เผ็ดร้อนนั้นมาจากส่วนที่เป็นยาง   เครื่องเทศประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น แป้ง น้ำตาล แร่ธาตุ วิตามินและสารประกอบอื่นๆ ซึ่งมีสรรพคุณลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง รวมถึงกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ คุณประโยชน์จากเครื่องเทศแต่ละชนิด มีดีงนี้
พริก มีสาร Capsaicin ช่วยเพิ่มกระบวนการเผาผลาญในร่างกายและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
ขมิ้น มีสาร Curcuminoids ช่วยลดคอเลสเตอรอล  ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
กระเทียม มีสาร Dially Sulphide  ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
ขิง มีสาร [6]-Gingerol ช่วยลดการดูดซึม LDL Cholesterol และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
5. เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ
เครื่องดื่มจากธรรมชาติมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยแก้กระหาย ทำให้ร่างกายสดชื่น เครื่องดื่มนี้สามารถเตรียมจากส่วนต่างๆของพืช เช่น ใบ ผล เมล็ด ราก เป็นต้น
ชาเขียว ชาเขียวมีสาร Epigallocatechin Gallate [EGCG] ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเซลล์มะเร็ง การดื่มชาเขียวให้ได้ประโยชน์เต็มที่นั้น ควรดื่มทันทีหลังชงชาเสร็จ เนื่องจากหากทิ้งไว้ชาเขียว จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้เสียคุณค่าไป  นอกจากชาเขียวแล้วยังมีน้ำผักและผลไม้รวมถึงสมุนไพรอีหลายชนิดที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องดื่มกันอย่างแพร่หลาย เช่น น้ำแครอท น้ำดอกอัญชัญ น้ำขิง น้ำส้ม น้ำเสาวรสเป็นต้น
6. อย่าละลืมปรุงอาหารถูกวิธี
วิธีการปรุงอาหารที่ถูกต้องก็มีความสำคัญเช่นกัน ได้แก่
     6.1 ไม่ปิ้งย่างอาหารประเภทเนื้อสัตว์จนไหม้เกรียม การปิ้งย่าง รมควัน เนื้อสัตว์จนไหม้เกรียมจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง การนำอาหารไปทำให้สุกโดยไมโครเวฟก่อนนำไปปิ้งย่าง และการนำส่วนที่ไหม้เกรียมทิ้งก่อนการรับประทานจะช่วยลดสารพิษดังกล่าวได้
     6.2 ไม่รับประทานอาหารแบบสุกๆดิบๆ  โดยเฉพาะปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด การรับประทานอาหารแบบสุกๆดิบๆอาจทำให้เกิดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและเกิดอาการอักเสบเรื้อรังส่งผลให้เป็นมะเร็งได้ ดังนั้นจึงควรปรุงอาหารเหล่านี้ให้สุกก่อนการรับประทานเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
     6.3 ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายๆครั้ง  น้ำมันที่ผ่านการทอดซ้ำนานเกินไปจะมีคุณค่าทางโภชนาการลดลงและทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค จึงควรหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารทอดจากร้านค้าที่ใช้น้ำมันมีกลิ่นเหม็นหืน เหนี่ยง สีดำคล้ำ ฟองมาก
                                                       IMAGE SOURCE : https://www.ladytips.com/news-891
7. หลีกเลี่ยงอาหารไขมัน
ไขมันในอาหารพบได้ทั้งในพืชและในสัตว์ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญคือกรดไขมันซึ่งสามารถแบ่งประเภทของกรดไขมัน ได้ดังนี้
กรดไขมันอิ่มตัว พบมากในอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์และน้ำมันที่ได้จากพืชบางชนิด เช่น เนย ไขมันสัตว์ กะทิ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม หากร่างกายได้รับกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณมากเกินจำเป็น จะทำให้เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
กรดไขมันไม่อิ่มตัว พบในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวันและปลา เช่น     ปลาซาร์ดีน ปลาแซลม่อน ปลาทูน่า ปลาจาระเม็ดเป็นต้น การบริโภคกรดไขมันชนิดนี้จะช่วยลดระดับ LDL Cholesterol หรือ คลอเรสเตอรอลตัวร้ายในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

  IMAGE SOURCE : http://www.pikool.com
8. หมั่นลดบริโภคเนื้อแดง
      เนื้อสัตว์สีแดงเช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ เป็นอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง การบริโภคเนื้อสัตว์สีแดงเป็นประจำอาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้และทวารหนัก มะเร็งเต้านมและโรคอ้วน ดังนั้นจึงควรจำกัดการรับประทานเนื้อดังกล่าวให้เหลือเพียงสัปดาห์ละ 500กรัม เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
     การรับประทานปลาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากปลาเป็นอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูงและยังเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายมีปริมาณไขมันน้อย นอกจากนี้ในปลาทะเลน้ำลึกยังพบว่ามีกรดไขมันที่เรียกว่า โอเมก้า 3 ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกายช่วยให้การทำงานของสมอง ตับ และระบบประสาทเกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้
9. เกลือแกงอาหารหมักดองต้องน้อยลง
เกลือแกง เกลือสมุทร เกลือสินเถาว์ เป็นของคู่ครัวเรือนซึ่งใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเค็มเราควรได้รับโซเดียมไม่เกินวันละ 6 กรัมต่อวัน
โซเดียม มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย แต่ถ้าหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะเป็นโทษต่อร่างกายได้เช่นกัน

โซเดียม จะพบได้มากในเนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดองและผลไม้ดอง เป็นต้น ดังนั้นจึงควรลดการรับประทานอาหารประเภทหมักดองหรืออาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป โดยเฉพาะที่มีการถนอนอาหารหรือปรุงสีด้วยดินประสิว เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง


โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (Colorectal cancer)

IMAGE SOURCE : www.medicaljane.com

มะเร็งลำไส้ใหญ่

          มะเร็งลําไส้ มีอยู่ด้วยกัน ชนิด คือ มะเร็งลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นมะเร็งที่ค่อนข้างจะพบได้น้อย และมะเร็งลําไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยมาก เมื่อกล่าวถึง มะเร็งลำไส้” จึงมักจะหมายถึง มะเร็งลำไส้ใหญ่” ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะกล่าวถึงกันในบทความนี้

มะเร็งลําไส้ใหญ่

          มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) คือ โรคที่เซลล์ปกติในลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนควบคุมไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจใช้เวลานานเป็นปี ๆ ในระยะแรก ๆ เซลล์อาจเป็นเพียงแค่เนื้องอกธรรมดา แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาหรือตัดทิ้ง เนื้องอกอาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่แพทย์สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาได้เร็ว
             มะเร็งลำไส้ใหญ่จัดเป็นโรคที่พบมากในผู้ใหญ่ เพราะมักพบในช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยมากเป็นอันดับ ของมะเร็งทั้งหมดทั้งในผู้ชายและผู้หญิงทั่วโลก พบได้มากในประเทศแถบอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยุโรปเหนือ และยุโรปตะวันตก สำหรับในประเทศไทยนั้นพบได้มากเป็นอันดับ ของมะเร็งในผู้ชาย และเป็นอันดับ ของมะเร็งในผู้หญิง โดยมากกว่า 90% มักพบในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป (แต่ก็อาจพบในเด็กโตได้) ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ใกล้เคียงกัน หรือพบเกิดได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย (ทั่วโลกพบผู้ป่วยใหม่เป็นโรคนี้ประมาณ ล้านคนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคประมาณ แสนคนต่อปี)

          ลำไส้ใหญ่แบ่งออกเป็นส่วนที่อยู่ในช่องท้อง (Colon) และส่วนที่อยู่ในท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานที่เรียกว่าลำไส้ตรง (Rectum) หลายคนจึงเรียกว่า โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง (Colorectal cancer) โดยจะพบมะเร็งเกิดกับลำไส้ใหญ่ส่วนที่อยู่ในช่องท้องมากกว่าที่ลำไส้ตรง (จากสถิติในประเทศไทยเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2544-2546 ในผู้ชายพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนที่อยู่ในช่องท้อง 7.4 ราย และส่วนที่อยู่ในลำไส้ตรง 3.7 ราย ต่อประชากรชาย 100,000 คน และในผู้หญิงพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนที่อยู่ในช่องท้องใน 5.2 ราย และส่วนที่อยู่ในลำไส้ตรง 2.6 ราย ต่อประชากรหญิง 100,000 คน)

ปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การป้องกันโรค มะเร็งลำไส้
                                                             IMAGE SOURCE : https://www.pptvhd36.com/

          แม้ว่าสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีบางปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ เช่น
1.มีประวัติเนื้องอก ซึ่งปกติจะพบที่ผนังลำไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย แต่หากเวลาผ่านไป เนื้องอกบางชนิดอาจกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
2.อายุ โดยส่วนใหญ่พบว่ากว่า 90% มักเกิดกับคนที่อายุมากกว่า 50 ขึ้นไป แต่ก็อาจพบได้ในวัยหนุ่มสาวและวัยรุ่น
3.มีประวัติของ โรคIBD (inflammatory bowel disease) หรือ โรค ulcerative colitis และ Crohn’s disease ซึ่งอาจกลายเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
4.มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนอายุ 60 ปีมีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น 
5.การไม่ออกกำลังกายและความอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น
6.การสูบบุหรี่ จากการศึกษาพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

 การตรวจประเมินโรคมะเร็งลำไส้ในเบื้องต้น

          การตรวจประเมินเบื้องต้น เป็นวิธีการที่สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และสามารถแยกเนื้องอกที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็งได้ แนะนำให้เริ่มตรวจประเมินเบื้องต้นทั้งผู้ชายและผู้หญิงเมื่ออายุ 50 ปี โดยวิธีการตรวจประเมินเบื้องต้นทำได้ดังนี้
1.การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (fecal occult blood test: FOBT) สามารถตรวจได้ว่ามีเนื้องอกหรือเป็นมะเร็งหรือไม่ การตรวจด้วยวิธีนี้เป็นประจำทุกปีจะช่วยลดการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ และลดลงได้ 18% ในกรณีที่ตรวจปีเว้นปี
2.การตรวจโดยใช้เครื่องมือซิกมอยด์โดสโคป (sigmoidoscope)  ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อสอดผ่านเข้าไปทางปลายทวารหนักสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง เพื่อตรวจเนื้องอก มะเร็ง และสิ่งผิดปกติต่างๆ วิธีนี้แพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติไปตรวจสอบได้
3.การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) วิธีนี้จะช่วยให้เห็นภาพภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมดและสามารถเก็บชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้
4. การใช้สารทึบเเสงเเบเรียมร่วมกับการฉายรังสีเอกซเรย์ CT Scan(double contrast barium enema : DCBE) จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนการตรวจด้วยวิธีส่องกล้องได้ 

อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
                                                               IMAGE SOURCE : http://www.facebook.in.th                                                                      
          อาการของความเจ็บป่วยหรืออาการโรคเป็นการแสดงออกของร่างกายให้คุณรู้ว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น อาการที่พบได้มากที่สุดของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่คุณควรรู้ ได้แก่
1. มีเลือดปนในอุจจาระหรือมีเลือดออกจากทวารหนัก ไม่ว่าปริมาณเลือดจะเล็กน้อยเพียงใด หรือสีของเลือดจะเป็นสีใดก็นับเป็นสัญญาณเริ่มแรกของโรค
2. การเปลี่ยนแปลงนิสัยการขับถ่ายที่เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายวัน เช่น ท้องร่วง ท้องผูก หรือ อุจจาระลีบเล็กลง
3. อาการดีซ่าน (ผิวและตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว)      
4. ภาวะน้ำหนักตัวลดโดยไม่มีสาเหตุ
5. อาการท้องอืด อาการปวดเกร็งหรือเจ็บปวดที่ช่องท้อง
6. อาการอ่อนเพลียและร่างกายอ่อนแออย่างต่อเนื่อง
7. มีความรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำตลอดเวลา เหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ซึ่งอาจเรียกว่าโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอาการเริ่มแรกที่ลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก ทั้งลำไส้ใหญ่และทวารหนักนับเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของระบบย่อยอาหารของร่างกาย

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

          การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่จะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น
1.ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
2.ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
3.สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

ทางเลือกในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

1.การผ่าตัด
2.รังสีรักษา
3.เคมีบำบัด
4.การใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy)
5.การรักษาโดยการยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดใหม่ (angiogenesis)

การป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

                 มะเร็งลำไส้ถือเป็นโรคแห่งยุคปัจจุบันอย่างแท้จริง เพราะ ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหาร เมนูอาหารที่มีน้ำตาล เนื้อสัตว์ และใช้ความร้อนสูงได้รับความนิยมมากขึ้นเท่าใด ก็สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญมะเร็งลำไส้ถือเป็นโรคหนึ่งที่สามารถป้องกัน และรักษาให้หายได้ในระยะเริ่มต้น ถ้าคุณคิดว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความเสี่ยง ใส่ใจ 5 พฤติกรรมที่จะช่วยให้คุณสังเกตมะเร็งลำไส้ได้ทันเวลา
1. ตรวจมะเร็งลำไส้เป็นประจำ เป็นเรื่องง่ายๆที่ทำได้เป็นประจำทุกปี อาจตรวจเลือดที่ปนกับอุจจาระ หรือการส่องกล้อง อย่ากลัวที่จะตรวจด้วยการส่องกล้อง เพราะปัจจุบันการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เดี๋ยวนี้ก้าวหน้ามากแล้ว
2. สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสุขภาพ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร และระบบลำไส้ ถ้าคุณมีอายุเกิน 40 ปี ให้คอยสังเกตให้ดี เช่น อุจจาระมีมูกเลือด ท้องผูกติดต่อกันบ่อยๆ ท้องเสียสลับท้องผูกบ่อยๆ ท้องอืด ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด มีอาการโลหิตจาง ควรไปตรวจมะเร็งลำไส้ทันที
3. รักษาน้ำหนักตัว และหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะดัชนีมวลกาย (BMI) ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5kg/m2 จะทำให้อัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25
4. กินอาหารไขมันต่ำ เส้นใยสูง และเน้นอาหารสุขภาพ “น้ำตาลต่ำ เกลือต่ำ ไขมันต่ำ และเส้นใยสูง” ลดไขมันสู่ลำไส้ใหญ่ จะช่วยลดการเกิดสารพิษในลำไส้
5.  ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา อย่าปล่อยให้อุจจาระเก่าตกค้างเป็นมลพิษ

อาหารป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่



                                                                                               IMAGE SOURCE :  http://postcoloniality.org
  
                    จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญต่างตลอดมาจนถึงปี ค.ศ. 2014 ประกอบกับข้อมูลของข้อมูลของกองทุนวิจัยโรคมะเร็งของโลกที่จัดเตรียมในปี ค.ศ. 2011 มีผู้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิธีการเลือกรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิตเพื่อป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งลำไส้ ซึ่งอาจสรุปถึงเรื่องอาหารที่ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ดังนี้
1. กลุ่มที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือ (Convincing)
                  การออกกำลังกายทุกชนิด รวมถึงการออกกำลังที่ทำเป็นอาชีพ การทำงานบ้าน การเดินทาง และการออกกำลังเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ พบว่ามีผลลดความเสี่ยงร้อยละ 3-20 ทั้งนี้ขึ้นกับประเภทของการออกกำลังกาย ระยะเวลา และเพศ สำหรับการออกกำลังกายนาน 30 นาทีต่อวัน มีผลลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ถึงร้อยละ 11 และมีผลลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึงร้อยละ 12 กลไกการลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ การออกกำลังกายมีผลเพิ่มอัตราการเผาผลาญของร่างกาย และเพิ่มออกซิเจนเข้าไปในร่างกาย ในระยะยาวเพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณของการเผาผลาญ ซึ่งจะมีผลต่อไขมันในร่างกายนอกจากนี้ยังลดการอักเสบลดระดับอินซูลินและสามารถนำอินซูลินไปใช้งานได้ดีขึ้น
อาหารที่มีใยอาหาร (Dietary fiber) พบว่าอาหารที่มีใยอาหารสามารถลดความเสี่ยงได้ร้อยละ 10 เมื่อรับประทานใยอาหารเพิ่มขึ้น 10 กรัมต่อวัน กลไกการลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ การเพิ่มน้ำหนักอุจจาระ ลดระยะเวลาการเดินทางของอาหารในทางเดินอาหาร ใยอาหารช่วยเจือจางสารก่อมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ลดปริมาณไขมัน แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เปลี่ยนใยอาหารไปเป็นกรดไขมันสายสั้น (short-chain fatty acids) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง
ธัญพืช (Whole grains) ซึ่งจัดเป็นกลุ่มอาหารที่มีใยอาหาร พบว่า เมื่อรับประทานวันละ 3 หน่วยบริโภค (servings) สามารถลดความเสี่ยงในมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักลงได้ถึงร้อยละ 21 และลดความเสี่ยงในมะเร็งลำไส้ใหญ่ลงได้ถึงร้อยละ 16 กลไกการลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ คุณสมบัติต้านมะเร็งของใยอาหาร สารต้านออกซิเดชัน และสารเคมีจากพืช ลดไขมัน เพิ่มความไวของอินซูลิน และลดระดับอินซูลิน
2. กลุ่มที่มีหลักฐานแสดงถึงความเป็นไปได้ (Probable)
แคลเซียม มีผลลดความเสี่ยงร้อยละ 8 เมื่อรับประทานแคลเซียมเพิ่มขึ้น 300 มิลลิกรัมต่อวัน ในรายงานที่รวบรวมศึกษาในคนกลุ่มใหญ่นาน 6 ถึง 16 ปี พบว่ากลุ่มที่รับประทานแคลเซียมจากอาหารสูงที่สุดลดความเสี่ยงลงได้ถึงร้อยละ 14 กลไกการลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ แคลเซียมจับกับกรดไขมันและกรดน้ำดีอิสระ ยับยั้งการแบ่งตัวของเซล ส่งเสริมการทำลายตัวเองของเซล (เพื่อไม่ให้เปลี่ยนไปเป็นเซลมะเร็ง) ยับยั้งการทำลายดีเอ็นเออันเนื่องมาจากออกซิเจน ควบคุมกลไกที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเซลมะเร็ง
นม มีผลลดความเสี่ยงร้อยละ 9 เมื่อดื่มนมเพิ่มขึ้นวันละ 200 กรัม และได้ผลสูงสุดเมื่อดื่มนม 500-800 กรัมต่อวัน ในรายงานที่รวบรวมการศึกษาในคนกลุ่มใหญ่นาน 6 ถึง 16 ปี พบว่า กลุ่มที่ดื่มนมปริมาณสูงสุดสามารถลดความเสี่ยงได้ถึงร้อยละ 15
กระเทียม พบว่าสามารถลดความเสี่ยงร้อยละ 3-4 เมื่อรับประทานกระเทียมเพิ่มขึ้น 100 กรัมต่อวัน กลไกการลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ ลดการก่อกลายพันธุ์ ลดสภาวะความเครียดออกซิเดชัน (Oxidative stress) ลดการแบ่งตัวของเซล การควบคุมการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ
3. กลุ่มที่มีข้อมูลจำกัดแต่มีแนวโน้มที่ดี (Limited-suggestive)
ผักกลุ่มที่ไม่มีแป้ง (Non-starchy vegetables) พบว่าสามารถลดความเสี่ยงร้อยละ 2 เมื่อรับประทานผักเพิ่มขึ้น 100 กรัมต่อวัน ทั้งนี้ผักตระกูลกะหล่ำอาจลดความเสี่ยงลงได้ถึงร้อยละ 16 ในกลุ่มที่รับประทานสูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานต่ำสุด กลไกการลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ ผักมีสารต้านมะเร็ง เช่น โฟเลต วิตามิน ใยอาหาร เกลือแร่ ฟลาโวนอยด์ และกลูโคซิโนเลตในกลุ่มผักตระกูลกะหล่ำปลี และการลดปริมาณไขมัน
ผลไม้ พบว่าลดความเสี่ยงร้อยละ 3 เมื่อรับประทานผลไม้เพิ่มขึ้น 100 กรัมต่อวัน กลไกการลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ ผลไม้มีสารต้านมะเร็ง เช่น โฟเลต วิตามิน ใยอาหาร เกลือแร่ ฟลาโวนอยด์ และการลดปริมาณไขมัน
อาหารที่มีวิตามินดี พบว่าลดความเสี่ยงร้อยละ 5 เมื่อรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีเพิ่มขึ้น 100 หน่วยสากล (IU) ต่อวัน กลไกการลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ ฤทธิ์ต้านการแบ่งตัว ส่งเสริมการทำลายตัวเองของเซล ยับยั้งการบุกรุกและการแพร่กระจาย ยับยั้งการสร้างแขนงเส้นเลือดใหม่(ที่จะไปเลี้ยงเซลมะเร็ง)
4. กลุ่มอาหารที่มีข้อมูลจำกัดและยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอน (Limited-no conclusion)
อาหารในกลุ่มนี้มีข้อมูลและหลักฐานจำกัด ยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอนว่ามีความเกี่ยวโยงกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่ ได้แก่ ปลา ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) วิตามินซี วิตามินอี ซีลีเนียม อาหารไขมันต่ำ รูปแบบของอาหารที่รับประทาน
ที่มา:<https://www.pharmacy.mahidol.ac.th

กินอยู่อย่างไรห่างไกลมะเร็งลำไส้ใหญ่


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การป้องกันโรค มะเร็งลำไส้

                                                          IMAGE SOURCE : https://www.sentangsedtee.com

1.อย่ากินอาหารดิบหรือสุก ๆ ดิบ ๆ (โดยเฉพาะปลาน้ำจืดดิบ) หรืออาหารที่มีเชื้อรา (เช่น ถั่วลิสงบด พริกแห้ง หัวหอม กระเทียมที่ขึ้นรา)
2.พยายามหลีกเลี่ยงอาหารโปรตีนหมัก เช่น ปลาร้า ปลาส้ม หมูส้ม แหนม หรือ เนื้อสัตว์ ที่หมักโดยผสมดินประสิว (เช่น เนื้อเค็ม กุนเชียง ไส้กรอก แฮม) ถ้าจะกินควรทำให้สุกเพื่อทำลายสารไนโตรซามีนเสียก่อน
3.พยายามอย่ากินอาหาร หรือขนมที่ใส่สีย้อมผ้า (ซึ่งทำให้ดูสีสดใสน่ากิน) หรืออาหารที่มียาฆ่าแมลงเจือปนโดยเฉพาะ ดีดีที หรือยาที่เข้าสารหนู
4.ลดอาหารที่มีไขมัน เช่น มันสัตว์  ของทอด ของผัดน้ำมัน  อาหารใส่กะทิ  และจำกัดการกินน้ำตาล และของหวาน และทางที่ดีควรกินอาหารที่ให้โปรตีน  จากถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเช่น เต้าหู้
5.ลดการกินอาหารรมควัน ย่าง หรือทอดจนเกรียม เพราะมีสารก่อมะเร็ง
6.จำกัดการกินเกลือและอาหารเค็ม ผู้ใหญ่กินเกลือวันละไม่เกิน กรัม (7.5 มิลลิลิตร หรือหนึ่งช้อนชาครึ่ง) ส่วนเด็กวันละไม่เกิน กรัมต่อ 1,000 กิโลแคลอรี
          นอกจากการหลีกเลี่ยงอาหารประเภทเหล่านี้แล้ว เราควรกินผัก ผลไม้ให้มากขึ้น เช่น  ผักใบเขียว ผักกะกล่ำ ดอกกะหล่ำ ผักคะน้า  ผลไม้  เช่น ฝรั่ง แอปเปิล มะละกอ องุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ ส้ม  เมล็ดธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง งา ลูกเดือย ถั่ว ต่าง ๆ  หัวพืชต่าง ๆ เช่น เผือก มัน แครอต หัวไช้เท้า และพวกกล้วย อาหารเหล่านี้จะมีสารที่ช่วยป้องกันมะเร็ง เช่น กากใย  สารฟีนอล สารฟลาโวน สารแคโรทีน เป็นต้น
สำหรับผู้อ่านที่มีอายุเกิน 50 ปี ควรตรวจร่างกายประจำปีด้วยนะคะ
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อยากสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวอย่างละเอียด   หรือผู้ป่วยมะเร็งชนิดใดก็ตาม  ถ้าอยากมีเพื่อนที่เจ็บป่วยแบบเดียวกันเพื่อพูดคุยปรึกษา  ชาวชมรมชีวจิต โดยคุณวิจารณ์- คุณสิริแก้ว  ยิ่งยืนยง  แกนนำรำกระบอง ณ สวนรถไฟจตุจักร บอกผ่านกับเรามาว่า สามารถไปพูดคุยกันได้ที่นี่ทุกวัน
                 

อ้างอิง: <https://medthai.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88/
<http://haamor.com/th/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87/#article102
<https://veritalife.com/th/symptoms-of-colon-cancer-aware/
<https://www.bumrungrad.com/th/horizon-cancer-treatment-center-chemotherapy-bangkok-thailand/conditions/colon-cancer
<https://www.interpharma.co.th/articles/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/5%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%A5/
<https://goodlifeupdate.com/healthy-body/health-education/8103.html#cxrecs_s
<http://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/5917
<https://thaicoloclinic.com

นวัตกรรมน่ารู้เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่

นวัตกรรมน่ารู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ นวัตกรรมการผ่าตัดผ่านกล้อง Laparoscopic Surgery รักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ 18  มีนาคม 2556  ...